จรรยาบรรณ คือ กระบวนความประพฤติที่กลุ่มวิชาชีพหรือสมาคมร่วมกันพิจารณากำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มหรือในสังคมนั้นยึดถือ การ มีจริยธรรม เริ่มจากการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก แต่ยังไม่เพียงพอ ต้องปฎิบัติตามจารีตประเพณี วัฒนธรรม ปรัชญาด้วย จริยธรรมและคุณธรรม คือบันไดที่เชื่อมไปสู่เป้าหมายของการเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
- ความโปร่งใส (Transparency)
- ความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity)
- ความรับผิดชอบ (Responsibility)
- ความรับผิดชอบต่อผลงานในหน้าที่ (Accountability)
- การมีหลักนิติธรรม (Rule of Law)
- หลักคุณธรรม (Morality)
ธรรมาภิบาลของภาคเอกชน ( Good Corporate Governance) ต้องมี
- มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีผลประโยชน์ร่วม (Stakeholders)
- มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
- มีความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ
- เน้นการสร้างมูลค่าและผลตอบแทนระยะยาว
- คำนึงถึงความซื่อสัตย์ ต่อต้านการให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- คำนึงถึงหลักคุณธรรมและจริยธรรม
- ปรับปรุงกลไกการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ
จรรยาบรรณ ( Code of conduct ) คือ ข้อกำหนดอย่างเป็นทางการว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง และ เหมาะสมโดยต้องคำนึงถึง
- วัฒนธรรมเฉพาะในบริษัท ไม่ใช่เพียงแต่หลักจริยธรรมทั่วๆ ไป
- ประเด็นธุรกิจที่มีความล่อแหลม อาจก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมาย สังคม การเมือง และอื่นๆ
- ความเป็นไปได้ สะท้อนถึงสภาพต่างๆ ในบริษัท
- แนวทางในการปฏิบัติต่อผู้มีผลประโยชน์ร่วม ของกิจการทั้งหมดเป็นต้นว่า ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า คู่
แข่งขัน เจ้าหนี้ และรัฐบาล
ข้อปฎิบัติทางจรรยาบรรณอยู่ 12 ข้อ
1. การปฎิบัติต่อกันภายใต้สิทธิและเสรีภาพ ความเป็นส่วนตัว การปฎิบัติเท่าเทียมกัน และความเป็นกลางทางการเมือง
2. สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย ดำเนินการอย่างจริงจัง มุ่งปลูกจิตสำนึก ทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพและความปลอดภัย
3. การรับหรือให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่อาจสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถูกต้อง ตรงไปตรงมา ไม่ให้เกิดข้อครหาหรือเสื่อมเสีย ทั้งการรับและการให้ทรัพย์สิน ของขวัญ ของที่ระลึก
ถูกต้อง ตรงไปตรงมา ไม่ให้เกิดข้อครหาหรือเสื่อมเสีย ทั้งการรับและการให้ทรัพย์สิน ของขวัญ ของที่ระลึก
4. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจใดๆ
5. การจัดหา ดำเนินการด้วยความเป็นธรรม ตามขั้นตอน ความสมเหตุสมผลด้านราคา คุณภาพ และการบริการ
6. การทำธุรกรรมกับรัฐ หลีก เลี่ยงการดำเนินการ ที่อาจจูงใจให้รัฐหรือพนักงานของรัฐ ดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง เว้นแต่การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันในขอบเขตที่เหมาะสม
7. การปฎิบัติต่อข้อมูลและทรัพย์สิน พยายามใช้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดูแลมิให้เสื่อมสูญหาย หรือนำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อบุคคลอื่น
8. การสื่อสารทางการตลาด ใช้เครื่องมื่อสื่อสารเรื่องจริง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และเป็นธรรมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
9. การทำธุรกรรมของ SCG คำนึงถึงกฎหมาย กฎระเบียบทั้งของ SCG กับของรัฐ และทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
10. การประกอบธุรกิจในต่างประเทศ ปฎิบัติตามกฎหมายข้อบังคับแต่ละประเทศ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมในท้องถิ่น เช่น เมื่อครั้งต้องนำเข้าปูนซิเมนต์ มีการขนส่งจากท่าเรือ ก็ให้บรรทุกตามน้ำหนักที่กฎหมายกำหนด ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องขนจำนวนเที่ยวมากขึ้น แต่ก็ต้องปฎิบัติตามกฎหมาย
11. การแข่งขันทางการค้า แข่งขันกันอย่างยุติธรรม โดยคำนึงถึงจริยธรรมในการประกอบการค้าและกฎหมายการแข่งขันในการค้า
12. การป้องกันการฟอกเงิน ไม่รับโอน เปลี่ยนสภาพ เป็นช่องทางในการถ่ายเท ปกปิด หรืออำพรางทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยมีข้อสังเกตุเกี่ยวกับ จริยธรรม-จรรยาบรรณ ว่า
- ปฏิบัติได้ไม่ยาก หากทุกคนปฎิบัติ และองค์กรยึดมั่นกับหลักเกณฑ์อย่างต่อเนื่อง
- ไม่จำเป็นต้องเข้าใจทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง หากสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมองค์กรอำนวย
- มีทั้งที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นเพียงแนวปฏิบัติ
- แต่ละองค์กรมีมาตรฐานการปฏิบัติต่างกัน ทั้งแบบเข้มงวด ปานกลาง ผ่อนคลาย ละเลย
- การสนับสนุน และการปฎิบัติเป็นแบบอย่างของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ
- ในการปฏิบัติ บางครั้งทำได้ยาก ต้องมีความกล้าหาญ และเชื่อมั่นในการทำสิ่งที่ถุกต้อง
- การหมั่นปฏิบัติอย่างมีระบบระเบียบ จนเป็นอุปนิสัย จะกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน
หลักที่พนักงานควรยึดถือในการปฎิบัติตามจรรยาบรรณ คือ
1. ซื่อสัตย์สุจริต
2. จิตมุ่งบริการ
3. งานสัมฤทธ์ผล
4. พัฒนาตน
5. ทุกคนตรวจสอบได้ และคำขวัญคือ ” เราทำได้ ทำเดี๋ยวนี้ และทำตลอดไป “
ประโยชน์ที่พนักงานได้รับจากการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
1. เข้าใจอย่างชัดเจนในมาตรฐานการดำเนินงานและวิธีปฏิบัติงานประจำวันที่ถูกต้อง ไม่เกิดความ
สับสน
2. มีความมั่นใจ ได้รับการปฏิบัติที่เสมอภาค และได้รับความไว้วางใจ
3. ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย
4. ทำงานด้วยความสบายใจ
5. ใช้เวลาไปพัฒนาตนเองในเรื่อง ระเบียบวินัย( Discipline) ความเคารพนับถือ (Respect) ความ
รับผิดชอบ (Responsibility) และผลงาน (Result)
6. มีความภูาคภูมิใจ ในการทำงาน และในส่วนตัว ของการเป็นผู้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อตนเอง
1. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
1.1 ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้
ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้
ตนเองและหน่วยงานที่สังกัด
1.2 ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะมีความอดทน ในการปฏิบัติงาน
เพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
1. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
1.1 ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่าง
เป็นลายลักษณ์อักษร
1.2 ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและ
ความประพฤติดี
1.3 รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
1. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
1.1 ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับ
ความเสียหาย
1.2 ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
1.3 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและ
เพื่อพัฒนาวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อสังคม
1. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
1.1 ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเอง หรือ
ผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม
1.2 ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสีย
ประโยชน์
1.3 ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
1. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
1.1 รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
1.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้
ที่มา : http://www.shicu.com/new_shicu/183.0.html
http://www.finearts-psdg.com/n/tabid/247/Default.aspx