วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

EDI (Electronic Data Interchange)

EDI คืออะไร?


                ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) คือ ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลเอกสารทางธุรกิจ ระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ค้าฝ่ายหนึ่งกับคอมพิวเตอร์ของผู้ค้าอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น จากผู้ค้าปลีกไปยังผู้เสนอขายสินค้าหรือจากผู้เสนอขายสินค้าไปยังผู้ค้าปลีก ในรูปแบบที่กำหนดเป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่าย มีความสอดคล้องกัน เอกสารทางธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อ, ใบกำกับสินค้า, ใบส่งของ ฯลฯ

EDI ทำงานอย่างไร ? 


           ขั้นตอนการทำงานของระบบ EDI มีดังนี้
             1. มี EDI Gateway ( Tradesiam )      เป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมระบบการแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจ(ไปรษณีย์กลาง )มีหน้าที่ในการนำเอกสารจากองค์กรผู้ส่งไปส่งยังผู้รับในองค์กรต่าง  
             2. มี VANS (Value Added Networks) ที่เป็นเหมือนไปรษณีย์เขต มีหน้าที่ให้บริการการรับส่ง และแลกเปลี่ยนกันเอกสารข้อมูลจนถึงปลายทางอย่างถูกต้อง อีกทั้งดูแลระบบ EDI ให้ได้รับความปลอดภัยทางด้านข้อมูลที่สามารถแสดงผลด้วยการลงบันทึกรายงานในแต่ละวัน และทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
             3. End User  ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับ หรือส่งเอกสารผ่านทางระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งเอกสารธุรกิจทั้งรับและส่ง โดยผ่านทางระบบ EDI นั้น จะต้องได้รับมาตรฐานการใช้รับส่ง   และแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก  หรือที่สากลให้การยอมรับอย่าง UN/ EDIFACT

3. ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ EDI กับ การสแกนเอกสารและใช้ E-mail ในการรับ-ส่งเอกสาร ?   สำหรับองค์กรผู้รับเอกสาร สามารถนำข้อมูล EDI ที่ได้รับมาจากบริษัทคู่ค้าขึ้นสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ขององค์กรได้ทันที โดยไม่ต้องทำการบันทึกข้อมูลซ้ำ ซึ่งเป็นการลดระยะเวลาและข้อผิดพลาด แตกต่างจากการสแกนเอกสารและใช้ E-mail ในการรับ-ส่งเอกสารผ่านทาง Internet ซึ่งต้องเสียเวลาในการสแกน และไม่มีระบบในการยืนยันการส่งว่าผู้รับได้รับเอกสารที่ส่งให้หรือไม่ อีกทั้ง E-mail ไม่มีมาตรฐานสากลกำหนดตายตัวต่างจาก EDI ซึ่งข้อมูลต้องมีรูปแบบที่แน่นอน ภายใต้รูปแบบมาตรฐานสากล จึงทำให้ไม่เกิดปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการส่งข้อมูลผ่านทางระบบ EDI ซึ่งความปลอดภัยของข้อมูลถือเป็นสิ่งที่สำคัญในงานธุรกิจเพราะข้อมูลทุกอย่างจะต้องเป็นความลับจากคู่แข่ง

ประโยชน์ของ EDI ต่อธุรกิจ

              1.ช่วยลดข้อผิดพลาดของข้อมูล ปกติแล้วการป้อนข้อมูลเข้าระบบ มักจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อนำระบบ EDI มาใช้สามารถทำให้ลดข้อผิดพลาดลงได้                
 2.ช่วยลดงบประมาณ  ในเรื่องของเอกสารและค่าจัดส่ง เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน รวมถึงค่าจัดส่งที่ส่งผิด และการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนขององค์กรเนื่องจากได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับองค์กร ถ้านำระบบ EDI มาใช้จะช่วยลดความผิดพลาดและทำให้ลดต้นทุนในส่วนของความผิดพลาดนั้นลดลง
3.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เนื่องจากบริษัทสามารถจัดการกับเอกสารธุรกิจได้ถูกต้องในเวลาอันรวดเร็วก็ทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากความผิดพลาด หรือต้นทุนที่เกิดจากสินค้าคงคลัง และเกิดความได้เปรียบจากการดำเนินงานที่รวดเร็วเพราะทำให้องค์กรจะไม่ต้องพบกับปัญหาในเรื่องสินค้าขาดสต็อกในร้านค้าปลีก
4.ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการผสมผสานกันระหว่างข้อดีของการช่วยลดงบประมาณ และลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ดีที่มีอยู่ชนิดเดียวในเวลานี้  มันมีความเป็นไปได้ที่องค์กรระหว่างประเทศจะเน้นการนำเอาระบบ EDI มาใช้ในการติดต่อระหว่างบริษัทในเครือสมาชิก  ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทซึ่งเป็นผู้แข่งขันสามารถที่จะมีกระบวนการเทคโนโลยีที่สอดรับกับผลิตภัณฑ์  และนอกจากนั้นยังเป็นการเสนอการบริการที่ดีให้กับลูกค้าด้วย
5. เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า ซึ่งเมื่อเกิดความผิดพลาดทั้ง 2 ฝ่าย มักจะโต้เถียงกันว่าใครเป็นฝ่ายผิด และทำให้เกิดความสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย

ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/273996

JIT (Just-in-time)

JIT คืออะไร?
                             JIT ในภาษาโปรแกรม Java และสภาพแวดล้อม just-in-time (JIT) compiler โปรแกรมที่เปลี่ยนกลับ bytecode ของ Java ให้เป็นคำสั่งที่สามารถส่งตรงไปที่โพรเซสเซอร์ หลังจากการเขียนโปรแกรม ภาษา Java คำสั่งต้นแบบจะได้รับคอมไพล์ โดย Java compiler เป็น bytecode แทนที่จะเป็นรหัสที่เก็บคำสั่งที่ตรงกันแพล็ตฟอร์มของโพรเซสเซอร์ (เช่น Intel Pentium, IBM System /390) bytecode เป็นรหัสที่ไม่ขึ้นกับแพล็ตฟอร์มที่สามารถส่งไปยังแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ และทำงานบนแพล็ตฟอร์ม นั้น ในอดีตโปรแกรมส่วนมาก เขียนในภาษาต่าง ๆ จะต้องมีการคอมไพล์ซ้ำ และบางครั้งต้องเขียนใหม่ สำหรับแต่ละแพล็ตฟอร์ม ข้อได้เปรียบอย่างมากของ Java คือสามารถเขียนและคอมไพล์เพียงครั้งเดียว Java ในแต่ละแพล็ตฟอร์มจะแปล bytecode เป็นคำสั่งที่เข้าใจได้ของโพรเซสเซอร์ อย่างไรก็ตาม virtual machine ดูแล 1 คำสั่ง bytecode ในแต่ละครั้ง การใช้ just-in-time compiler ของ Java ที่แพล็ตฟอร์มเฉพาะคอมไพล์ bytecode เป็นรหัสของระบบนั้น เมื่อรหัสได้รับคอมไพล์โดย JIT compiler จะทำงานได้เร็วในคอมพิวเตอร์
               
                         Just-in-time compiler มาพร้อมกับ virtual machine และใช้แบบตัวเลือก JIT compiler จะคอมไพล์ bytecode เป็นรหัส เฉพาะตามแพล็ตฟอร์ม ซึ่งจะประมวลผลทันที Sun Microsystems แนะนำให้เลือก JIT compiler จะทำให้ทำงานเร็วขึ้น โดยเฉพาะเมธอด มีการใช้ซ้ำ

ที่มา : http://www.com5dow.com

Outsourcing

Outsource คืออะไร?


                                Outsource คือ กระบวนการที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะมอบหมายการบริหาร การดำเนินงาน โครงการหรือการบริการที่องค์กรนั้นๆจะต้องทำให้กับบุคคลภายนอกที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมาดำเนินการแทนโดยองค์กรจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการบริหารและกำหนดคุณภาพของการจัดทำรูปแบบงาน  ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการให้บริการ Outsource อย่างแพร่หลาย  ซึ่งการใช้ร้านหรือบริษัท Outsource จึงเป็นการประหยัดต้นทุนสำหรับองค์กร                
Ictmaz Outsource Medias  ในด้านการจัดทำและผลิตสื่อขององค์กรมีความจำเป็นที่จะต้องมีการนำเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและมีความยุ่งยากมาใช้ในการผลิตซึ่งต้องลงทุน ร้านค้า บริษัทและผู้ที่ต้องการจัดทำสื่อสามารถแบ่งเบาภาระงานต่างๆของท่านทางด้านสื่อได้ เพื่อลดพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรในการผลิตงานด้านสื่อขององค์กรท่าน Ictmความยุ่งยากในการจัดทำงานต่าง ๆ ด้านสื่อ โดยให้ Ictmaz ช่วยจัดการและดูแลเaz Outsource Business  ถือเป็นรูปแบบการประยุกต์ที่เป็นบริการรูปแบบใหม่ของ Ictmaz ที่จะใช้การสื่อสารผ่านธุรกิจของท่านโดยอาศัย " ความเป็น เพื่อนและพันธมิตรทางการค้า (Partner) ” ผ่านไอซีทีแมทเพื่อหาแหล่งทุนที่เหมาะสมกับธุรกิจของท่าน โดยใช้ธุรกิจของท่านที่มีอยู่แล้ว ขยายหรือหาแหล่งความต้องการบริโภคและการลงทุน เปลี่ยนสถานที่ทำการค้าการลงทุน และขายสินค้า จากการวิเคราะห์ด้านข้อมูลการสื่อสารจาก Ictmaz โดยเชื่อมโยงผ่านสื่อต่างๆ ที่ทันสมัย เพื่อขยายอาณาเขตธุรกิจของท่านให้กว้างขวางขึ้น  

ที่มา : http://www.ictmaz.com/tha/index.php/ictmaz29.html

HRM (Human Resource Management)

HRM คืออะไร?


                              HRM คำว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์” (human resource management) แต่เดิม เคยใช้คำว่า การบริหารงานบุคคล (personnel management) ซึ่งเป็นความหมายที่แคบกว่า โดยมองการบริหารบุคคลเป็นแบบศูนย์รวมอำนาจทั้งองค์การ ที่เกี่ยวกับกิจกรรม โปรแกรมและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการรับคนเข้าทำงาน การดูแลรักษาคนทำงาน และการให้คนงานออกจากงาน รวมทั้งการเก็บประวัติของคนงาน ลักษณะของศูนย์รวมงานส่วนใหญ่ของการบริหารงานบุคคลจึงเป็นงานบริการและงานธุรการ ต่อมาคำว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากมีการให้ความสำคัญว่า มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ไม่สามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรใด ๆ มาทดแทนได้ มนุษย์จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่นำองค์การให้ไปสู่ความสำเร็จ เนื่องจากมนุษย์มีสมอง มีความรู้สึกนึกคิด และมีจิตวิญญาณ การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงมีความแตกต่างจากทรัพยากรอื่น ๆ เพราะผู้บริหารต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการของคนงาน การให้เกียรติ และการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงมนุษย์ ตลอดจนการให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตของคนงานด้วย โดยเป้าหมายการจัดการจะเน้นที่การสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้น โดยการใช้ศักยภาพของมนุษย์ที่จะทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ มีความมั่นคง มั่งคั่ง และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดังนั้น การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับกิจกรรม โปรแกรมและนโยบายที่กว้างขวางมากขึ้นกว่าคำว่า การบริหารงานบุคคลซึ่งเป็นคำเดิมที่เคยใช้

ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
                         ในการบริหารองค์กร มนุษย์นับเป็นทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นและต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์จำนวนมากในหลากหลายหน้าที่ เพราะทรัพยากรมนุษย์จะเป็นผู้สร้างสรรค์งานบริการและเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ที่เน้นคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย และคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งการที่จะได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ การพัฒนาและการรักษาทรัพยากรมนุษย์ให้ทำงานให้กับองค์การอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนการออกจากองค์การไปด้วยดีนั้น ล้วนต้องอาศัยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ดังนั้น การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญกับการบริหารองค์การ

ที่มา : http://hrmesy.blogspot.com

CRM (Customer Relationship Management)

CRM คืออะไร?


                     CRM  หรือ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์)การสร้าง การรักษาลูกค้าเก่าหรือ การทำบริการหลังการขายสนับสนุน หรือดูแลลูกค้า และความพยายามในการดึง Customer Value ออกมา และสร้างเป็นคุณค่าระยะยาว Life time Customer Value เช่น ลูกค้าถามรายละเอียดสินค้าที่จะใช้ หรือซื้อไปแล้วเข้าไปสอบถามข้อมูลการใช้งาน ต่อมามีการสร้างระบบ Call Center ขึ้นเพื่อตอบคำถามในการช่วยเหลือต่าง ๆ เพื่อความสะดวก บางครั้งเรียก Contact Center ช่วยในการบริการการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า รวมถึงการดูแลเอาใจใส่ การเชิญชวนลูกค้ามาร่วมกิจกรรม หรือจัด Promotion พิเศษสำหรับลูกค้า ดังนั้น CRM จึงเป็นเรื่องของการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า CRM เป็นทั้งกลยุทธ์และเครื่องมือขององค์การ และของพนักงานในองค์การที่จะในการให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งกลยุทธ์ไม่ได้หมายความถึงเทคโนโลยีที่มีราคาแพง


                     CRM ไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่งในองค์กร แต่เป็นหน้าที่ของทุกๆคนที่ปฏิบัติงานร่วมกันในองค์กร การทำความเข้าใจ รู้จักลูกค้ามากขึ้น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า การรับรู้ของลูกค้าที่มีต่อองค์กรและผลิตภัณฑ์ขององค์กร การที่องค์กรจะรักษาลูกค้าไว้จะต้องเชื่อมโยงกันทุกหน่วยงาน เพื่อที่จะเก็บรวมรวมข้อมูลที่มีประโยชน์เพื่อนำไปใช้ในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
               
การบริหาร CRM จะประสบความสำเร็จได้นั้นมีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
                1. มีการร่วมมือกันอย่างทุมเทในการดำเนินกลยุทธ์ CRM ของบุคลากรทุกระดับในองค์การ
                2. พนักงานทุกระดับและทุกหน่วยเก็บข้อมูลเพื่อสนับสนุนระบบ CRM อย่างถูกต้อง
                3. เครื่องมือ CRM จะต้องสอดคล้องกับตัวระบบการให้บริหารเพื่อให้พนักงานและลูกค้ามีความสะดวกในการใช้งาน
                4. ใช้ข้อมูลรายงาน CRM ที่จำเป็นและมีการแบ่งปันไปสู่ทีมงาน
                5. การดำเนินกลยุทธ์ CRM นั้นไม่ใช่การมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีราคาแพงเป็นหัวใจสำคัญแต่องค์การ

                สามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีราคาถูกแต่องค์การสามารถใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้ หากเปรียบเทียบกับการนำเทคโนโลยี ไฮ-เทคเข้ามาใช้แล้วทำให้เกิดความวุ่นวาย และเพิ่มต้นทุนมหาศาล การใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ก็จะก่อให้เกิดคุณค่ามากกว่าการทำ CRM จะเป็นตัวช่วยบอกองค์การว่าควรจะรักษาลูกค้าประเภทใด แนวคิดเกี่ยวการเก็บรักษาลูกค้าให้ได้นาน ๆ นั้นจะช่วยลดต้นทุน เนื่องจากถ้าองค์การสามารถรักษาลูกค้าให้อยู่กับองค์การได้ จะช่วยเป็นการลดต้นทุนที่เกิดจากการลดการทำงานให้เหลือน้อยครั้ง องค์การไม่ต้องเริ่มกระบวนการทำงานใหม่บ่อย ๆ ถ้าหากลูกค้าเข้า ๆ ออก ๆ จะทำให้เสียต้นทุนและไม่เกิดโอกาสในการทำกำไร ซึ่งโอกาสในการทำกำไรนั้นส่วนหนึ่งมาจาก การทำ (การซื้อต่อเนื่อง)Cross Selling และ (การซื้อต่อยอด)Up Sellingลักษณะของ CRM ที่ดีมีดังนี้
                1. มีความสามารถในการวิเคราะห์และเข้าใจในระบบธุรกิจ
                2. มีการรวบรวมช่องทางต่างๆ ไว้สำหรับติดต่อกับลูกค้าไว้อย่างครบถ้วน
                3. สามารถรองรับฟังก์ชันที่มีเว็บเป็นพื้นฐาน
                4. มีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าไว้ที่ส่วนกลาง
                5. สามารถประสานงานระหว่างระบบเก่ากับระบบใหม่ได้
                6. เชื่อมโยงระบบ CRM เข้ากับระบบ ERP ได้

                สรุป CRM คือ การรักษาลูกค้าเก่า ให้เกิดความประทับใจ มีความจงรักภักดีกับองค์กรให้นานที่สุด มีการนำระบบมาช่วยในการทำงานของ CRM มีการใชระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยในการทำงานในองค์กร และมีความสัมพันธ์กับ Supply chain


ประโยชน์ของ CRM คือ
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile, Customer Behavior
2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ เพราะลูกค้าที่ดีในปัจจุบัน อาจเป็นลูกค้าที่ไม่ดี หรือไม่สร้างกำไรต่อองค์กรในอนาคตก็ได้ หรือลูกค้าที่ยังไม่ทำกำไรต่อเราในปัจจุบัน อาจเป็นลูกค้าที่ดีของเราในอนาคตก็ได้
4. Models การกำหนดโมเดลลูกค้าที่ไม่เพียงเพื่อรู้ว่าใครจะซื้ออะไร แต่ต้องทราบถึงจำนวนที่เขาซื้อในแต่ละครั้งด้วย นอกจากนั้น ยังต้องสามารถหยั่งรู้ได้ว่า ลูกค้าเขามีแนวโน้มจะซื้ออะไรกับเราอีกในอนาคตด้วย เพื่อคงความภักดีของเขาต่อเราตลอดไป
ที่มา : http://duangnapa-yui.blogspot.com/2009/11/customer-relationship-management-crm.html

SCM (Supply Chain Management)

SCM คืออะไร?


                            กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย



 การจัดการโซ่อุปทาน Suplly Chain Management (SCM) คืออะไร?
                     การจัดการโซ่อุปทาน หรือ SCM คือ การจัดการทั้งด้านอุปสงค์ และอุปทาน การจัดหาวัตถุดิบและส่วนประกอบการผลิต การจัดเก็บ และการติดตามสินค้า การรับคำสั่งซื้อ และการจัดการคำสั่งซื้อ การจำหน่ายสินค้าทั่วทั้งสายการผลิต และการจัดส่งสินค้าแก่ลูกค้า จะเห็นว่า SCM ไม่ได้เกี่ยวข้องเพียงการเคลื่อนย้ายสินค้าเท่านั้น แต่เป็นภาพรวมที่ใหญ่กว่ามาก ดังนั้น SCM ที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้กิจการได้เปรียบในการแข่งขัน นำมาซึ่งผลกำไรที่สูงสุด
                     การวางแผนระดับปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ จะเพิ่มคุณค่า และอำนวยความสะดวกต่อการเชื่อมโยงในภาพรวม ทำให้เกิดความเข้าใจว่าการตัดสินใจในส่วนหนึ่งส่วนใดของสายโซ่ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อส่วนอื่น ๆ ในสายโซ่เดียวกัน ทั้งนี้ SCM จะมีขอบเขตที่กว้างไกลกว่า การวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning, ERP) เพราะมันได้ครอบคุลมไปถึงการจัดการตั้งแต่การวางแผนคัดเลือกการปรับปรุงสินค้า การพยากรณ์ การวางแผนจัดซื้อ การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ การวางแผนการผลิต การขาย และการขนส่งสินค้า ตลอดจนการจัดการกับสินค้าคงคลัง ขณะที่ ERP จะเน้นไปที่ การควบคุมการปฏิบัติงาน และ การจัดการสารสนเทศจากการทำธุรกรรม(Transaction) ที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทาน

SCM มีประโยชน์อย่างไร ช่วยการตัดสินใจได้ในระดับไหน ด้านใดบ้าง?
                   SCM จะช่วยในการตัดสินใจทั้งใน ระดับกลยุทธ์ และระดับปฏิบัติการ โดยในระดับกลยุทธ์นั้น เป็นการวางแผนระยะยาว ซึ่งอาจจะใกล้เคียง หรือเป็นสิ่งเดียวกับแผนการดำเนินงานของบริษัท โดยจะจัดทำ SCM ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่วางเอาไว้ ขณะที่ระดับปฏิบัติการนั้น จะเป็นการวางแผนระยะสั้น บางครั้งอาจจะเป็นการวางแผนวันต่อวัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางเอาไว้ โดยการตัดสินใจด้านหลัก ๆ ประกอบไปด้วย เรื่องสถานที่ตั้ง, การผลิต, ปริมาณการผลิต/สินค้าคงเหลือ, การขาย/การจัดส่ง เป็นต้น

การนำ SCM มาใช้ให้ประสบความสำเร็จ

 

                การนำ SCM มาใช้ให้เหมาะสมนั้นจะต้องพัฒนาขึ้นมาสำหรับทั้งระบบงานในองค์กร และเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายโซ่อุปทาน ทั้งนี้ SCM จะต้องคำนึงถึง ความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ และ ระบบการสื่อสารของคู่ค้าในสายโซ่เดียวกัน เป็นสำคัญ เพราะแต่ละผลิตภัณฑ์ต้องการกลยุทธ์ที่ต่างกันไป
                ความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ โดยทั่วไปแล้วมีผลิตภัณฑ์อยู่ 2 ประเภทคือ ผลิตภัณฑ์ทั่วไป และ นวัตกรรม
                - ผลิตภัณฑ์ทั่วไป มีแนวโน้มจะมีอุปสงค์ต่อผลิตภัณฑ์คงที่ มีวงจรชีวิตยาว มีกำไรต่อหน่วยน้อย จึงต้องการSMC ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลิตในปริมาณที่เหมาะสมต่ออุปสงค์ ด้วยต้นทุนที่ต่ำ โดยการจัดการกับผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ต้องทำให้มีการหมุนเวียนสินค้าสูง ลดสินค้าคงค้างในระบบโดยรวม ลดเวลาสั่งซื้อโดยไม่ให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และหาแหล่งวัตถุดิบราคาต่ำ
                - นวัตกรรม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวงจรชีวิตสั้น และมีอุปสงค์ที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ จึงจำเป็นต้องมีโซ่อุปทานที่สามารถตอบสนองความต้อกงารลูกค้าที่คาดการณ์ไม่ได้อย่างรวดเร็ว การจัดการสินค้าประเภทนี้จะต้องรักษาระดับปลอดภัยของสินค้าคงคลังไว้สูง ลดเวลาสั่งซื้อให้ได้ แม้ต้นทุนจะสูงขึ้น เลือกแหล่งวัตถุดิบที่สามารถจัดส่งได้รวดเร็ว และมีความยืดหยุ่น

                  ระบบการสื่อสารของคู่ค้าในสายโซ่เดียวกัน เนื่องจากโซ่อุปทานนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับหลายบริษัท การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน โปรแกรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัท เช่น การจัดการสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย (Vendor Managed Inventory), การวางแผน พยากรณ์ และเติมสินค้าคงคลังร่วมกัน (Collaborative Planning Forecasting and Replenishment, CPFR), การตอบสนองอย่างรวดเร็ว(Quick Response) และ การเติมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง (Continuous Replenishment) จะช่วยให้การติดต่อระหว่างบริษัทดีขึ้น โดยโปรแกรมที่กล่าวมาข้างต้นนี้ล้วนมีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และลดความไม่แน่นอนของข้อมูลที่สนับสนุนในสายโซ่อุปทาน

ที่มา : http://hnunmba52.blogspot.com/2009/11/supply-chain.html

ERP (Enterprise Resource Planning)

ERP  คืออะไร?
               

                   Erp ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning ถ้าแปลตรงตัวคือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การบริหารเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสุงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศ ที่องค์กรสามารถนำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERPมาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร กล่าวคือ ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศในองค์กรที่สามารถบูรณาการ (Integrate) รวมงานลัก (Core Bussiness Process) ต่าง ๆในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคลเข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยง ณ เวลานั้นทันที (Real Time)
ประโยชน์ในการนำ ERP มาใช้
               
- เกิดการปฏิรูปการทำงาน
                - การเพิ่มประสิทธิภาพและความเหมาะสมให้กับกระบวนการทางธุรกิจ
                - การทำให้การบริหารงานได้รวดเร็ว ไวต่อเหตุการณ์
                - การลดลงของค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร
                - เกิดการปฏิรูปการบริหารธุรกิจ
                - ความสามารถในการรับรู้สภาพการณ์โดยรวมของการบริหารได้แบบเรียลไทม์
                - ความสามารถในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้องค์กรโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด
                - ความสามารถในการตัดสินใจได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
                - เกิดการปฏิรูปวัฒนธรรมและวิถีขององค์กร
                - การเป็นตัวเองและความกระตือรือร้นของพนักงาน
                - การใช้ความสามารถของพนักงานให้เกิดผลสำเร็จ
                - การใช้ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานในการบริหารองค์กรให้เกิดผลสำเร็จ

ห่วงโซ่ของกิจกรรมขององค์กร                 องค์กรธุรกิจประกอบกิจกรรมธุรกิจในการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรม สร้างมูลค่าของทรัพยากรธุรกิจให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการและส่งมอบ มูลค่านั้นให้แก่ลูกค้า โดยกระบวนการสร้างมูลค่าจะแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยแต่ละส่วนจะรับผิดชอบงานในส่วนของตน และมูลค่าสุดท้ายจะเกิดจากการประสานงานระหว่างแต่ละส่วนหรือแผนกย่อยๆ ดังนั้นกิจกรรมที่สร้างมูลค่านั้น ประกอบด้วยการเชื่อมโยงของกิจกรรมของแผนกต่างๆ ในองค์กร การเชื่อมโยงของบริษัทเพื่อให้เกิดมูลค่านี้ เรียกว่า ห่วงโซ่ของมูลค่า (value chain)”

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารธุรกิจ
                ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ การเชื่อมโยงของกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าของแต่ละแผนก มักจะมีปัญหาเรื่องการสูญเปล่าและการขาดประสิทธิภาพ อีกทั้งการใช้เวลาระหว่างกิจกรรมที่ยาวเกินไป ทำให้ผลผลิตต่ำลง เกิดความยากลำบากในการรับรู้สถานภาพการทำงานของแผนกต่างๆ ได้ ทำให้การตัดสินใจในการลงทุนและบริหารทรัพยากรต่างๆ ทำได้ยากขึ้น การบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรไม่สามารถทำได้

ปัญหาเชิงบริหาร ที่เกิดขึ้นได้แก่
               
1. การขยายขอบเขตการเชื่อมโยงของกิจกรรม
                                เมื่อบริษัทเติบโตใหญ่ขึ้น กิจกรรมการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าจะเพิ่มขึ้น การเชื่อมโยงของกิจกรรมจะ
                 ยาวขึ้น
                2. โครงสร้างการเชื่อมโยงของกิจกรรมซับซ้อนขึ้น
                                เมื่อบริษัทโตขึ้น การแบ่งงานของกิจกรรมสร้างมูลค่าให้กับแผนกต่างๆ และการเชื่อมโยงของ กิจกรรม
                จะซับซ้อนขึ้น
                3. เกิดการสูญเปล่าในกิจกรรมและความรวดเร็วในการทำงานลดลง
                                เมื่อการเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆ ขยายใหญ่และซับซ้อนขึ้น จะเกิดกำแพงระหว่างแผนก เกิดการ
                สูญเปล่าของกิจกรรม ความสัมพันธ์ในแนวนอนระหว่างกิจกรรมจะช้าลง ทำให้ประสิทธิภาพในการเชื่อมโยง
                กิจกรรมทั้งหมดต่ำลง
                4. การรับรู้สภาพการเชื่อมโยงของกิจกรรมทำได้ยาก เมื่อการเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆ ขยายขอบเขตใหญ่ขึ้น ความซับซ้อนในการเชื่อมโยงกิจกรรมมาก
                ขึ้น การรับรู้สภาพหรือผลของกิจกรรมในแผนกต่างๆ ทำได้ยากขึ้น ไม่สามารถส่ง ข้อมูลให้ผู้บริหารรับรู้ได้
                5. การลงทุนและบริหารทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำได้ยาก
                                ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถตัดสินใจอย่างรวดเร็ว และทันเวลาในการลงทุน และบริหารทรัพยากรของ
                องค์กรเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุดในสินค้าและบริการ


ที่มา : http://siyuandus.blogspot.com/2010/07/erp.html